นอกจากชาร์จไฟแล้ว รถไฟฟ้ายังมีความสามารถในการจ่ายไฟให้กับภายนอกได้ ซึ่งเรียกว่า Bi-Directional Charging หรือ การชาร์จแบบสองทิศทาง โดยแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะการใช้งานเช่น
V2G จ่ายไฟจากรถกลับเข้า Grid เมื่อมีความต้องการไฟฟ้า
V2H จ่ายไฟให้กับบ้าน หรือที่พักอาศัย
V2V จ่ายไฟให้กับรถไฟฟ้าคันอื่น
V2L จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้
แต่สิ่งที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดก็คือ V2L หรือว่า Vehicle-to-Load ที่จะใช้รถของเราจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายนอกนั่นเอง
โดยการใช้งาน V2L ส่วนมากจะเป็นการเสียบ Adapter เข้ากับ Port Type2 ผ่าน Adapter ซึ่งบางรุ่นอาจจะมาพร้อมกับปลั๊กพ่วงเลย หรือบางรุ่นมีเต้ารับมา ที่สามารถต่ออุปกรณืไฟฟ้าเข้าได้เลย โดย limit การใช้ไฟขึ้นอยู่กับผู้ผลิต บางคันไม่เกิน 2200 W หรือบางรุ่นอาจได้ถึง 3600 W ก็มี
V2L ช่วยเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้กับรถไฟฟ้าอย่างมาก โดยเฉพาะสาย Camping ที่สามารถมีเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนตัวใช้ได้ในยามพักแรม ไม่ว่าจะทำอาหาร หรือให้แสงสว่างก็ตาม เรียกว่าเป็น Power Bank ขนาดใหญ่เคลื่อนที่ก็ว่าได้ ถึง V2L จะมีข้อดีมากมาย แต่สิ่งที่อาจจะต้องคำนึงด้วยคือ การใช้งาน V2L จะมีผลต่อความเสื่อมของแบตเตอรี่ด้วยเช่นกัน
ฟีเจอร์อย่าง V2L ช่วยเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้กับรถไฟฟ้าอย่างมาก และเป็นสิ่งที่รถไฟฟ้าทุกคันควรจะมี แต่ก็ไม่ใช่รถทุกรุ่นที่มีความสามารถนี้
รถรุ่นที่มีได้แก่ BYD, ORA, DEEPAL, HYUNDAI, เป็นต้น ส่วนรุ่นที่ไม่มีเช่น BMW, MB, TESLA, VOLVO, etc
จะเห็นว่าส่วนมากแบรนด์ยุโรป และอเมริกายังไม่มีฟีเจอร์นี้เท่าไร แต่ในรถรุ่นใหม่ ๆ
หลาย ๆ ค่ายพิจารณาใส่ V2L มาด้วยแล้ว อย่างเช่น TESLA ที่เริ่มใส่มาใน Cybertruck ที่ปล่อย V2H ได้ถึง 11.5 kW หรือ V2L ได้ถึง 9.6 kW มากพอที่จะชาร์จรถไฟฟ้าคันอื่นได้ด้วย
ซึ่งในอนาคต V2L น่าจะเป็นมาตรฐานที่ควรมีสำหรับรถไฟฟ้าทุกคันครับ
คุณผู้อ่านคิดว่าอย่างไรบ้างครับ ได้ใช้ V2L กันบ้างไหม
V2L สำคัญในการเลือกซื้อหรือไม่ แลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างสุภาพได้ที่คอมเมนท์ด้านล่างนะครับ
หวังว่าข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ในการช่วยเลือกรถไฟฟ้านะครับ
สวัสดีครับ
ปล. หากตัวเลข หรือข้อมูลส่วนไหนไม่ถูกต้อง แจ้งได้นะครับ